|
สวัสดิการที่สมาชิกได้รับจากชุมนุมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนแห่งประเทศไทย
|
|
1. สวัสดิการเงินกู้ (สก.1)
วัตถุประสงค์
- ช่วยป้องกันปัญหาหนี้สูญในสหกรณ์ฯ
- เสริมสร้างเสถียรภาพด้านการเงินของสหกรณ์ฯ
- สร้างหลักประกันความมั่นคงให้แก่ครอบครัวของสมาชิกผู้ยืมเงินของสหกรณ์ฯ
ประโยชน์ที่ได้รับ
ในกรณีสมาชิกเสียชีวิต หรือเป็นผู้ทุพลภาพซึ่งไร้ความสามารถโดยสิ้นเชิง ขณะที่มีหนี้สินค้างชำระอยู่กับสหกรณ์ฯ หนี้สินนั้นจะได้รับการชดใช้โดย ช.ส.ค. ซึ่งปัจจุบันสวัสดิการเงินกู้จะชำระหนี้ให้กับสมาชิกรายละสูงสุดไม่เกิน 400,000 บาท (จำนวนเงินนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้) |
สวัสดิการเงินกู้ให้ความคุ้มครอง 2 กรณี คือ |
1. สมาชิกเสียชีวิต
- ให้ความคุ้มครองเงินกู้ของสมาชิกตลอดชีวิต โดย
* ต้องเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนที่สมาชิกมีอายุ 75 ปีบริบูรณ์
* สมาชิกรับเงินกู้ในขณะเจ็บป่วยโดยโรคทั่วไป จะได้รับความคุ้มครองต่อเมื่อรับเงินกู้ไปแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน
* สมาชิกรับเงินกู้ในขณะเจ็บป่วยโดยโรคร้ายแรง จะได้รับความคุ้มครองต่อเมื่อรับเงินกู้ไปแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
(โรคร้ายแรง ได้แก่ มะเร็ง, เอดส์ และวัณโรค (ที่เกี่ยวเนื่องมากจากโรคเอดส์))
- หนี้เงินกู้ของสมาชิกที่เกิดขึ้นหลังจากอายุ 75 ปีบริบูรณ์ จะไม่อยู่ในข่ายได้รับความคุ้มครอง และไม่ต้องนำมาคำนวณค่าบริการ
|
2. สมาชิกไร้ความสามารถโดยสิ้นเชิงถาวร
หมายถึง การที่สมาชิกไม่สามารถทำการงานหรือประกอบอาชีพใดๆ เพื่อรับจ้างค่าตอบแทนหรือผลกำไรได้เลย ไม่ว่าจะเป็นงานที่รับจ้างหรือการงานของตนเอง พร้อมทั้งหลักฐานพิสูจน์การไร้ความสามารถโดยสิ้นเชิงถาวรจากแพทย์ (ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย) ที่ทำการรักษา และกรณีดังกล่าวต่อไปนี้ให้ถือว่าเป็นการไร้ความสามารถโดยสิ้นเชิงถาวรด้วย คือ วิกลจริต ไม่มีทางรักษาให้หายได้ตลอดไป เป็นอัมพาตที่อวัยวะส่วนใหญ่ของร่างกาย จนไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้เลย และไม่มีทางรักษาให้หายได้ตลอดไปสูญเสียอวัยวะ คือ
- ตาบอดสนิททั้ง 2 ข้าง และไม่มีทางรักษาให้หายได้ตลอดไป
- เสียมือหรือเท้ารวม 2 แห่ง โดยการตัดออกที่เหนือข้อมือหรือข้อเท้า
|
ตารางผลประโยชน์สวัสดิการเงินกู้
อายุสมาชิก
(ณ วันที่เสียชีวิต, ไร้ความสามารถ) |
วงเงินคุ้มครอง (ร้อยละ) |
1. ขณะรับเงินกู้ไม่เจ็บป่วย |
|
อายุไม่เกิน 69 ปีบริบูรณ์
|
100 |
อายุ 69 ปี - 75 ปีบริบูรณ์
|
20 |
อายุ 75 ปีขึ้นไป (ตลอดชีวิต)
|
10 |
2. ขณะรับเงินกู้เจ็บป่วย |
|
อายุไม่เกิน 69 ปีบริบูรณ์
|
50 |
อายุ 70 ปี - 75 ปีบริบูรณ์
|
10 |
อายุ 75 ปีขึ้นไป (ตลอดชีวิต)
|
5 |
|
กลับสู่หน้าหลัก |